เมนู

แล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรมอันเป็นไป
กับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส เป็นสันโดษ
เพราะตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว
ผมได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง สมาธิใดอันบุคคล
ไม่น้อมไปแล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรม
อันเป็นไปกับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส
เป็นสันโดษเพราะตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอรหัตเป็นผล ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้ที่
มีสัญญาอย่างนี้แล ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.
จบ อนันทสูตรที่ 6

6. อรรถกถาอานันทสูตรที่ 6


อานันทสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺพาเธ ได้แก่ในที่คับแคบ คือกามคุณ 5. บทว่า
โอกาสาธิคโม ได้แก่ ถึงโอกาส. บทว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
ได้แก่ เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายถึงความบริสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกมาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การล่วงไป. บทว่า อตฺถงฺคมาย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การดับไป. บทว่า ญายสฺส อธิคมาย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า
นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การทำนิพพาน

อันหาปัจจัยมิได้ให้ประจักษ์. บทว่า ตเทว นามํ จกฺขุํ ภวิสฺสติ
ได้แก่ จักษุนั่นเอง คือปสาทจักษุ จักแตกต่างกันไปก็หามิได้.
บทว่า เต รูปา ได้แก่รูปารมณ์นั้นเอง จักมาสู่คลอง (ปสาทจักษุ).
บทว่า ตญฺจายตนํ โน ปฏิสํเวทิสฺสติ ได้แก่ บุคคลผู้ไม่มีสัญญา
จักไม่รู้รูปายตนนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุทายี ได้แก่พระกาฬุทายิเถระ. บทว่า สญฺญเมว นุ โข
ได้แก่ เป็นผู้มีจิตหรอืหนอ. ม อักษรเป็นเพียงบทสนธิ. บทว่า
กึ สญฺญี ได้แก่ เป็นผู้มีสัญญาด้วยสัญญาชนิดใหน บทว่า สพฺพโส
รูปสญฺญานํ
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ความว่า
ถามว่า เพราเหตุไร พระอานนท์จึงถือเอารูปัญญานี้ การเสวย
อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมมีแก่ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วย
ปฐมฌานเป็นต้นหรือ. ตอบว่า ไม่มี ก็กสิณรูปยังเป็นอารมณ์อยู่
เพียงใด รูปชื่อว่า ยังไม่ล่วงไปอยู่เพียงนั้น รูปนั้นจักอาจเพื่อเป็น
ปัจจัย เพราะยังไม่ล่วงไป แต่ก็รูปนั้น เพราะยังไม่ล่วงไปจึงชื่อว่า
ไม่มี พระอานนท์ถือเอาคำนี้นั่นแลเพื่อแสดงว่า เพราะรูปไม่มี
จึงไม่อาจเป็นปัจจัยได้.
บทว่า ชฏิลคาหิยา ได้แก่ ภิกษุณีผู้อยู่ในเมืองชฏิลคหะ.
ในบทว่า น จาภิณโต เป็นต้น พึงทราบเนื้อความต่อไปนี้ สมาธิ
ชื่อว่า ข่มห้ามด้วยการชักชวนไม่ได้ เพราะไม่น้อมไปด้วยอำนาจ
ของราคะ ไม่นำออกไปด้วยอำนาจของโทสะ ข่มห้ามกิเลสทั้งหลาย
แล้วตั้งอยู่ด้วยการชักชวน ด้วยการประกอบไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้
ในเมื่อตัดกิเลสได้แล้ว. บทว่า วิมุตฺตตฺตา ฐิโต ได้แก่ชื่อว่าตั้ง

อยู่แล้ว เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า ฐิตตฺตา สนฺตุสิโต
ได้แก่ ชื่อว่า สันโดษ เพราะตั้งมั่นแล้วนั่นเอง. บทว่า สนฺตุสิตตฺตา
โน ปริตสฺสติ
ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้งเพราะเป็นผู้สันโดษแล้ว.
ด้วยบทว่า อยํ ภนฺเต อานนฺท สมาธิ กึผโล นี้ พระเถรีถือเอา
สมาธิในอรหัตผลแล้วถามว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ สมาธินี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นผู้ของอะไร ดุจถือเอาผลตาล
แล้วถามว่า ผลนี้ชื่อผลอะไรดังนี้. บทว่า อญฺญา ผโล วุตฺโต
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอรหัตว่า อญฺญา
ชื่อว่า สมาธิในอรหัตผลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. บทว่า
เอวํสญฺญีปิ ความว่า แม้มีสัญญาด้วยสัญญาในอรหัตผลนี้ ก็ไม่
เสวยอายตนะนั้น เพราะเหตุนั้นในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสถึงสมาธิในอรหัตผลด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ 6

7. พราหมณสูตร


ว่าด้วยโลกและผู้ถึงที่สุดโลก


[242] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ
2 คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปูรณกัสสปเป็นผู้รู้
สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็นอันไม่มีส่วนเหลือ
ว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะปรากฏติดต่อ
เนื่องกันไป ปูรณกัสสปนั้นกล่าวอยางนี้ว่า เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มี
ที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้นิครณฐ-
นาฏบุตรก็เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็น
ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสนะ
ปรากฏติดต่อเนื่องกันไป นิครณฐนาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มีที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญคนทั้ง 2 ต่างก็พูดอวดรู้กัน มีวาทะเป็นข้าศึกกัน ใครจริง
ใครเท็จ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อย่าเลย ข้อ
ที่คนทั้ง 2 นี้ต่างพูดอวดรู้กัน มีวาทะเป็นข้าศึกกัน ใครจริง ใคร
เท็จนั้น พักไว้ก่อนเถิด ดูก่อนพราหมณ์ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน